เมนู

ที่ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่อุปทานทั้งหลาย โดย
เข้าถึงความเป็นอารมณ์แล้วสัมพันธ์กับอุปาทาน. คำว่า อุปาทานิยะ นี้
เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของอุปาทาน. ชื่อว่า อุปาทินนุปาทา-
นิยะ
เพระอรรถว่า เป็นอุปาทินนะด้วยเป็นอุปาทานิยะด้วย คำว่า อุปา-
ทินนุปาทานิยะ
นี้ เป็นชื่อของรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้น
ด้วยกรรมที่มีอาสวะ. ใน 2 บทที่เหลือ พึงทราบเนื้อความอันประโยชน์เกื้อกูล
แก่การปฏิเสธโดยนัยนี้.

ว่าด้วยสังกิลิฏฐติกะที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งสังกิลิฏฐสังกิเลสสิกธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เศร้าหมอง.
อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียน คือให้สัตว์เร่าร้อน. ที่ชื่อว่า สังกิลิฏฐะ เพราะ
ประกอบพร้อมแล้วด้วยสังกิเลส. ชื่อว่า สังกิเลสิกะ เพราะอรรถว่า ย่อม
ควรแก่สังกิเลสโดยทำตนให้เป็นอารมณ์เป็นไป หรือว่าเข้าไปประกอบใน
สังกิเลส โดยความไม่ก้าวล่วงความเป็นอารมณ์ของสังกิเลสนั้น. คำว่า สังกิเล-
สิกะ
นี้ เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสังกิเลส. ชื่อว่า
สังกิลิฏฐสังกิเลสกะ เพราะอรรถว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นสังกิลิฎฐะด้วยเป็น
สังกิเลสิกะด้วย สอง บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในติกะต้นนั่นแหละ.

ว่าด้วยวิตักกติกะที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งวิตักกะ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกะ เพราะเป็นไปกับด้วยวิตก คือเป็นไปอยู่
ด้วยสู่มารถแห่งสัมปโยคะ ธรรมที่ชื่อว่า สวิจาระ เพราะเป็นไปกับด้วยวิจาระ